เมนู

อากาศ สุนัขบ้านพึงดึงมาด้วยคิดว่า เราจักเข้าบ้าน สุนัขจิ้งจอกพึงดึงมา
ด้วยคิดว่า เราจักไปเข้าป่าช้า ลิงพึงดึงมาด้วยคิดว่า เราจักเข้าไปสู่ป่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล สัตว์ 6 ชนิดเหล่านั้น ต่างก็จะไปตามวิสัยของตนๆ
พึงลำบาก เมื่อนั้นสัตว์เหล่านั้นพึงยืนพิง นั่งพิง นอนพิงหลักหรือเสา
นั้นเอง แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งอบรม กระทำ
ให้มากซึ่งกายด้วยสติ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน จักษุย่อมไม่ฉุดภิกษุนั้นไปใน
รูปอันเป็นที่พอใจ รูปอันไม่เป็นที่พอใจ ย่อมไม่เป็นของปฏิกูล ฯลฯ ใจ
ย่อมไม่ฉุดไปในธรรมารมณ์อันเป็นที่พอใจ ธรรมารมณ์อันไม่เป็นที่พอใจ
ย่อมไม่เป็นของปฏิกูล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังวรเป็นอย่างนี้แล ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย คำว่า หลักหรือเสาอันมั่นคงนั้น เป็นชื่อของกายคตาสติ
เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า กายคตาสติ เราทั้งหลาย
จักอบรม กระทำให้มาก กระทำให้เป็นดังยาน กระทำให้เป็นที่ตั้ง ให้
มั่นคง สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึง
ศึกษาอย่างนี้แล้ว.
จบ ฉัปปาณสูตรที่ 10

อรรถกถาฉัปปาณสูตรที่ 10


ในฉัปปาณสูตรที่ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อุรูคตฺโต แปลว่า ตัวมีแผล. ชื่อว่า ปกฺกคตฺโต เพราะ
แผลเหล่านั้นนั่นแล เน่าฟอน. บทว่า สรวนํ แปลว่า ป่ามีหนาม. บทว่า
เอวเมว โข ความว่า บุคคลผู้ทุศีล พึงทราบว่า เหมือนคนมีตัวเต็มไป

ด้วยแผล. ทุกข์ที่เกิดภิกษุผู้ถูกเพื่อนสพรหมจารีในที่นั้น กล่าวอย่าง
ผู้นั้นเป็นผู้กระทำกรรมเหล่านี้ ๆ พึงทราบเหมือนทุกข์โทมนัสที่เกิดขึ้น
แก่บุรุษนั้น ผู้ถูกหน่อหญ้าคาแทง1 และมีตัวถูกใบไม้ที่มีหนาม ซึ่งเปรียบ
ด้วยคมดาบบาดเอา.
บทว่า ลภติ วตฺตารํ ความว่า ได้ทักท้วง. บทว่า เอวํการี
ความว่า เป็นผู้กระทำเวชกรรม และทูตกรรมเป็นต้น เห็นปานนี้.
บทว่า เอวํ สมาจาโร ความว่า ผู้มีโคจรเห็นปานนี้ ด้วยสามารถ
แห่งโดจร 3 อย่างเป็นต้น.
บทว่า อสุจิคามกณฺฏโก ความว่า ชื่อว่าเป็นผู้ไม่สะอาด เพราะ
อรรถว่าไม่หมดจด. ชื่อว่าเป็นเสี้ยนหนาม เพราะอรรถว่าทิ่มแทงชาวบ้าน
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า คามกณฺฏโก (หนามแทงชาวบ้าน )2
บทว่า ปกฺขึ ได้แก่ นกหัสสดีลิงค์. บทว่า โอสชฺเชยฺย แปลว่า
พึงปล่อยไป. บทว่า อาวิญฺเฉยฺยุํ แปลว่าพึงฉุดมา. บทว่า ปเวกฺขามิ
แปลว่า จักเข้าไป.3 บทว่า อากาสํ เทสฺสามิ แปลว่า เราจักบินไปสู่อากาศ
ในบรรดาสัตว์เหล่านั้น มีความประสงค์จะเข้าไปจอมปลวก
ด้วยคิดว่า เราจะเอาขนดขดให้กลม แล้วนอนหลับ.
1. ปาฐะว่า ขนฺเธหิ ฉบับพม่าเป็น วิทฺธสฺส แปลตามฉบับพม่า.
2. ปาฐะว่า อสุทฺธฏฺเฐน อสุจิคามวาสีนํ ฉบับพม่าเป็น อสุทฺธฏฺเฐน อสุจิ, คามวาสินํ
แปลตามฉบับพม่า.
3. ปาฐะว่า ปวิสิสฺสามีติ ฉบับพม่าเป็น ปวิสิสฺสามิ แปลตามฉบับพม่า.

จระเข้ มีความประสงค์จะลงสู่น้ำ ด้วยคิดว่า เราจะเข้าไปสู่โพรง
ในที่ไกล แล้วนอน.
นกมีความประสงค์จะบินไปสู่อากาศ ด้วยคิดว่า จักเที่ยวไปให้
สบายในท้องฟ้า.
ลูกสุนัข มีความประสงค์จะเข้าไปสู่บ้าน ด้วยคิดว่า เราจักคุ้ยขี้เถ้า
ในเตาไฟ นอนรับความอบอุ่น.
สุนัขจิ้งจอก มีความประสงค์จะเข้าไปสู่ป่าช้าผีดิบ ด้วยคิดว่า เราจะ
เคี้ยวกินเนื้อมนุษย์ และจักนอนเหยียดหลัง.
ลิงมีความประสงค์จะเข้าไปสู่ป่าใหญ่ ด้วยคิดว่า เราจะขึ้นต้นไม้สูง
วิ่งเล่นไปตามทิศต่าง ๆ.
บทว่า อนุวิธาเธยฺยุํ แปลว่า พึงตามไป. บาลีว่า อนุวิธิเยยฺยุํ
ดังนี้ ก็มี. ความว่า พึงคล้อยตาม. ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า สัตว์ทั้ง 6 นั้น
พึงไป ในที่ ( ที่เขาประสงค์จะไป ) นั้นนั่นแล.
ในบทว่า เอวเมว มีอธิบายดังต่อไปนี้.
อายตนะ พึงเห็นเหมือนสัตว์ 6 ชนิด ตัณหาพึงเห็นเหมือน
เชือกที่เหนียว อวิชชา พึงเห็นเหมือปมในท่ามกลาง ( ที่ขมวดไว้ )
ในทวารใด ๆ อารมณ์มีกำลังมาก อายตนะนั้น ๆ ย่อมเหนี่ยวอารมณ์นั้น
เข้ามา.
1. ปาฐะว่า ตนฺติ แต่ฉบับพม่าเป็น คณฺฐิ แปลตามฉบับพม่า.

แต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงนำอุปมานี้เปรียบเทียบด้วยสิ่งที่จะ
พึงเห็นสมกัน หรือด้วยสามารถแสดงให้เห็นความต่างกันแห่งอายตนะ
ทั้งหลาย. ในสองอย่างนั้น เมื่อว่าด้วยสิ่งที่เห็นสมกันก่อน กิจแห่งอัปปนา
จะไม่มีอีก แผนกหนึ่งต่างหาก ส่วนในบาลีเท่านั้น จึงจัดเป็นอัปปนา.
แต่เมื่อว่า โดยการแสดงให้เห็นความต่างกันแห่งอายตนะ จึงเป็นอัปปนา
ดังนี้. ธรรมดาว่างูนี้ ไม่ชอบอยู่ในที่เย็นและที่เตียน ในภายนอก. แต่
ในเวลาขาเข้าไปสู่ที่กองหยากเยื่อ ที่รกรุงรังไปด้วยหญ้าและใบไม้ และ
จอมปลวกเป็นต้น เท่านั้นแล้วนอน จึงยินดี ถึงความเป็นสัตว์มีอารมณ์
เป็นหนึ่งฉันใด แม้จักษุนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีอารมณ์ไม่เสมอกัน ย่อมไม่
ยินดีที่ราบเรียบ มีฝาเรือนที่ทำด้วยทองคำเป็นต้น ไม่ปรารถนาจะดู
แต่ชอบในสิ่งที่วิจิตรด้วยรูป และวิจิตรด้วยดอกไม้. และเครือเถาเป็นต้น
เท่านั้น เพราะว่าเมื่อตาไม่พอ (ไม่อยากดู) ในที่เช่นนั้น1 ก็ยังอยาก
เปิดหน้าดู.
แม้จระเข้ ออกไปข้างนอก มองไม่เห็นพึงตนจะจับกินได้ ย่อม
หลับตาคลานไป. แต่เวลาใดลงไปในน้ำชั่ว 100 วา เข้าไปสู่โพลงแล้วนอน
ในเวลานั้น จิตของมันก็มีอารมณ์เป็นหนึ่ง หลับสบายฉันใด แม้โสต
ประสาทนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีช่องเป็นที่อาศัย อาศัยอากาศกระทำความ
ชอบใจเฉพาะในช่องหูเท่านั้น การอยู่ในช่องหูนั่นแล ย่อมเป็นปัจจัยใน
การฟังเสียงของโสตประสาทนั้น แม้อากาศที่โปร่งก็ควรเหมือนกัน. ก็เมื่อ
1. ปาฐะว่า ยาทิเสสุปิ ฉบับพม่าเป็น ตาทิเสสุหิ แปลตามฉบับพม่า.

บุคคลทำการท่องบ่นภายในถ้ำ เสียงจะไม่ทะลุ1ผนังถ้ำออกมาข้างนอกได้เลย
แต่จะออกมาตามช่องของประตูและหน้าต่าง ธาตุกระทบต่อ ๆ กันมา
( คลื่นอากาศ ) กระทบโสตประสาท. จึงในเวลานั้น คนที่นั่งในหลังถ้ำ
ก็รู้ได้ว่า เขาท่องบ่นสูตรชื่อโน้น.
ถามว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น อารมณ์ที่ประจวบเข้าย่อมมี นี้หรือคือ
อารมณ์ที่ประจวบเข้า.
ตอบว่า ใช่แล้ว เป็นอารมณ์ที่มาประจวบ.
ถามว่า ถ้าเมื่อเป็นเช่นนั้น เมื่อเขาตีกลองเป็นต้นในที่ไกล การ
จะรู้ว่า เสียงที่อยู่ในที่ไกล ไม่พึงมีหรือ.
ตอบว่า ไม่พึงมีหามิได้ เพราะเมื่ออารมณ์มากระทบโสตประสาท
อาการที่จะรู้ว่า เสียงอยู่ในที่ไกล เสียงอยู่ในที่ใกล้ อยู่ที่ฝั่งโน้น หรือ
อยู่ที่ฝั่งนี้ ย่อมมี. ข้อนั้นเป็นธรรมดา.
ถามว่า ธรรมดานี้จะมีประโยชน์อะไร.
ตอบว่า ( มีคือ ) การได้ยินจะมีในที่มีช่องหู เหมือนการเห็น
พระจันทร์ และพระอาทิตย์เป็นต้นฉะนั้น เพราะฉะนั้น โสตประสาทนั้น
จะไม่มีอารมณ์ที่มาประจวบเลย2- ( ถ้าไม่มีช่องหู ).
1. ปาฐะว่า เลณจฺฉทนํ ฉิทฺทิตฺวา ฉบับพม่าเป็น น เลณจฺฉทนํ ภินฺฑิตฺวา แปลตาม
ฉบับพม่า.
2. ปาฐะว่า อสมฺปตตโคจรเมว เจตํ ฉบับพม่าเป็น อสมฺปตฺตโคจรเมเวตํ แปลตาม
ฉบับพม่า.

แม้ปักษีก็ย่อมไม่ยินดี ที่ต้นไม้ หรือที่พื้นดิน. ก็เมื่อใดมันบินไป
สู่อากาศที่โล่ง เลยไป 1 หรือ 2 ชั่วเลฑฑุบาต ( ชั่วก้อนดินตก )
เมื่อนั้นมันก็ถึงความสงบนิ่ง ฉันใด แม้ฆานประสาท ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
มีอากาศเป็นที่อาศัย มีกลิ่นที่อาศัยลม*เป็นอารมณ์. จริงอย่างนั้น ใด
ทั้งหลาย เมื่อฝนตกหมู่ ๆ จะสูดดมแผ่นดินแล้วแหงนหน้าสู่อากาศสูดดม.
อีกอย่างหนึ่ง เมื่อมันยังไม่สูดดม ในเวลาเอาเท้าตะกุยดินที่มีกลิ่น จะไม่
รู้กลิ่นของก้อนดินนั้นเลย.
ฝ่ายลูกสุนัข เที่ยวไปภายนอก ไม่เห็นที่ปลอดภัย ถูกขว้างด้วย
ก้อนดินและท่อนไม้เป็นต้น. แต่เมื่อมันเข้าไปภายในบ้านแล้วคุ้ยเถ้าที่เตา
ไฟนอก จะมีความสบายฉันใด แม้ลิ้นก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีอาหารที่ได้
มาจากบ้านเป็นที่อาศัย2 มีรสอันอาศัยอาโปธาตุเป็นอารมณ์. จริงอย่างนั้น
ภิกษุแม้บำเพ็ญสมณธรรม ตลอด 3 ยามแห่งราตรี ถือเอาบาตรและจีวร
เข้าไปสู่บ้าน. เธอไม่อาจรู้รสแม้แห่งของเคี้ยวที่แห้งที่ไม่ชุ่มด้วยน้ำลายได้.
แม้สุนัขจิ้งจอก เที่ยวไปข้างนอก ก็ไม่ประสบความชอบใจ แต่
เมื่อมันเก่ากินเนื้อมนุษย์แล้วนอนนั่นแหละ จึงจะมีความสบาย ฉันใด
แม้กายก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีอุปาทินนกสังขารเป็นที่อาศัย มีโผฏฐัพพะ
อาศัยปฐวีธาตุเป็นอารมณ์. จริงอย่างนั้น สัตว์ทั้งหลาย เมื่อไม่ได้อุปา-
ทินนกสังขารอื่น จะนอนเอาฝ่ามือหมุนศีรษะของตนเอง และปฐวีธาตุ
1. ปาฐะว่า ธาตุปนิสฺสยคนฺธโคจรํ ฉบับพม่าเป็น ธาตูปนิสฺสยคนฺธโคจรํ แปลตาม
ฉบับพม่า.
2. ปาฐะว่า อาโปสนฺนิสิตา รสารมฺมณา ฉบับพม่าเป็น อาโปนิสฺสิตรสารมฺมณา
แปลตามฉบับพม่า.

ทั้งที่เป็นภายในและภายนอก ย่อมเป็นปัจจัยของกายนั้น ในการยึดเอา
อารมณ์. จริงอยู่ ผู้ไม่ได้นั่ง หรือไม่ได้นอน1 ไม่สามารถจะรู้ภาวะที่แข็ง
หรือหนาแห่งที่นอน ที่เขาลาดไว้ดีแล้วหรือแผ่นกระดานแม้ที่วางอยู่ภายใต้
ได้ เพราะฉะนั้น ปฐวีธาตุ ทั้งที่เป็นภายในและภายนอก จึงเป็นปัจจัย
แห่งกายนั้น ในการรู้โผฏฐัพพะได้.
แม้ลิง เมื่อเที่ยวไปบนภาคพื้น ก็ย่อมไม่รื่นรมย์ใจ แต่เมื่อมันขึ้น
ต้นไม้สูง ประมาณ 7 ศอก แล้วนั่งอยู่ที่ค่าคบ มองดูทิศน้อยใหญ่ จะมี
ความสบายฉันใด แม้ใจก็ฉันนั้นเหมือนกัน ชอบสิ่งต่าง ๆ มีภวังคจิต
เป็นปัจจัย ย่อมกระทำความชอบใจในอารมณ์นานาชนิด แม้ที่เคยเห็นแล้ว
แต่ภวังคเดิมย่อมเป็นปัจจัยของใจนั้น เป็นอันว่าในเรื่องนี้ มีความสังเขป
เพียงเท่านี้ . แต่เมื่อว่าโดยพิสดาร ความต่างกันแห่งอายตนะทั้งหลายได้
กล่าวไว้แล้วในอายตนนิเทส ในคัมภีร์วิมุทธิมรรคนั้นแล้ว.
บทว่า ตํ จกฺขุ นาวิญฺฉติ ความว่า ในสูตรนี้ท่านกล่าวเฉพาะ.
ปุพพภาควิปัสสนาว่า จักษุ จะไม่ฉุด ( เขา ) มา เพราะสัตว์ 6 ตัว
กล่าวคือ อายตนะ ผู้กำหนัดด้วยอำนาจตัณหา ที่ถูกผูกไว้ที่หลัก คือ
กายคตาสติ2 ถึงภาวะหมดพยศแล้ว.
จบ อรรถกถาฉัปปาณสูตรที่ 10

1. ปาฐะว่า อิสีทนฺเตน วา ถทฺธปุถุภาโว ฉบับพม่าเป็น อนิสีทนฺเตน วา
อนุปฺปีฏนฺเตน วา ถทฺธมุทุภาโว แปลตามฉบับพม่า.
2. ในที่อื่นเทียบกายเหมือนหลัก เทียบสติเหมือนเชือกผูก.

11. ยวกลาปิสูตร


ว่าด้วยอายตนะเปรียบด้วยฟ่อนข้าวเหนียว


[351] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฟ่อนข้าวเหนียวบุคคลกองไว้ที่หน
ทางใหญ่ 4 แพร่ง ครั้นแล้วผู้ชาย 6 คนถือไม้คานมา ผู้ชายเหล่านั้นพึง
ฟาดฟ่อนข้าวเหนียวด้วยไม้คาน 6 อัน ฟ่อนข้าวเหนียวนั้นผู้ชายเหล่านั้น
ฟาดกระหน่ำอยู่ด้วยไม้คาน 6 อันอย่างนี้แล จึงผู้ชายคนที่ 7 ถือไม้คานมา.
เขาฟาดฟ่อนข้าวเหนียวนั้นด้วยไม้คานอันที่ 7. ภิกษุทั้งหลาย ฟ่อนข้าว
เหนียวนั้นถูกผู้ชายฟาดกระหน่ำอยู่ด้วยไม้คานอันที่ 7 อย่างนี้จะต้องแหลก
เหลว แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้ว ก็ฉันนั้นแล
ถูกรูปอันเป็นที่พอใจและไม่เป็นที่พอใจกระทบจักษุ ฯลฯ ถูกธรรมารมณ์
อันเป็นที่พอใจและไม่เป็นที่พอใจกระทบใจ ถ้าว่าปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้ว
นั้นย่อมคิดเพื่อเกิดต่อไปอีก. ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนนั้นเป็นโมฆบุรุษ เป็น
ถูกกระทบกระทั้งหนักกว่า เหมือนฟ่อนข้าวเหนียวถูกบุรุษฟาดกระหน่ำ
ด้วยไม้คานอันที่ 7 ฉะนั้นแล.
จบ ยวกลาปิสูตรที่ 11

อรรถกถายวกลาปิสูตรที่ 11


ในยวกลาปิสูตรที่ 11 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ยวกลาปิ ได้แก่ ฟ่อนข้าวเหนียว ที่เขาเกี่ยววางไว้.
บทว่า พฺยภงฺคิหตฺถา ความว่า มีไม้คานหาบในมือ.